อินู๋หนิง

วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ต้นไม้และดอกไม้ประจำจังหวัดต่างๆของไทย

ดอกไม้และต้นไม้ประจำจังหวัด

ราชพฤกษ์ เป็นดอกไม้ประจำชาติ และต้นไม้ประจำชาติไทย

แล้วมีใครรู้บ้างเอ่ย ว่าแต่ละจังหวัดก็มีดอกไม้ประจำจังหวัดเช่นกัน
นึกออกไหมว่า ดอกไม้และต้นไม้ประจำจังหวัดของคุณคืออะไร

ถ้านึกไม่ออก รวบรวมมาฝากค่ะ (บางจังหวัดไม่มีดอกไม้ประจำจังหวัดนะคะ)


ภาคเหนือ

1. จังหวัดกำแพงเพชร
ดอกพิกุล
ต้นสีเสียดแก่น

2. จังหวัดเชียงราย
ดอกพวงแสด
ต้นกาสะลองคำ

3. จังหวัดเชียงใหม่
ดอกทองกวาว
ต้นทองกวาว

4. จังหวัดตาก
ดอกเสี้ยวดอกขาว
ต้นแดง

5. จังหวัดนครสวรรค์
ดอกเสลา
ต้นเสลา

6. จังหวัดน่าน
ดอกเสี้ยวดอกขาว
ต้นกำลังเสือโคร่ง

7. จังหวัดพะเยา
ดอกสารภี
ต้นสารภี

8. จังหวัดพิจิตร
ดอกบัวหลวง
ต้นบุนนาค

9. จังหวัดพิษณุโลก
ดอกนนทรี
ต้นปีบ

10. จังหวัดเพชรบูรณ์
ดอกมะขาม
ต้นมะขาม

11. จังหวัดแพร่
ดอกยมหิน
ต้นยมหิน

12. จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ดอกบัวตอง
ต้นกระพี้จั่น

13. จังหวัดลำปาง
ดอกธรรมรักษา
ต้นกระเจา

14. จังหวัดลำพูน
ดอกทองกวาว
ต้นจามจุรี

15. จังหวัดสุโขทัย
ดอกบัวหลวง ต้นตาลโตนด (ต้นไม้พระราชทานคือ มะค่าโมง)

16. จังหวัดอุตรดิตถ์
ดอกประดู่
ต้น

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 

1. จังหวัดกาฬสินธุ์
ดอกพะยอม
ต้นมะหาด

2. จังหวัดขอนแก่น
ดอกราชพฤกษ์
ต้นกัลปพฤกษ์

3. จังหวัดชัยภูมิ
ดอกกระเจียว
ต้นขี้เหล็กบ้าน

4. จังหวัดนครพนม
ดอกกันเกรา
ต้นกันเกรา

5. จังหวัดนครราชสีมา
ดอกสาธร
ต้นสาธร

6. จังหวัดบุรีรัมย์
ดอกสุพรรณิการ์ (ฝ้ายคำ)
ต้นแป๊ะ (ต้นไม้พระราชทานคือ ต้นกาฬพฤกษ์)

7. จังหวัดมหาสารคาม
ดอกลั่นทมขาว
ต้นพฤกษ์ (มะรุมป่า)

8. จังหวัดมุกดาหาร
ดอกช้างน้าว
ต้นช้างน้าว

9. จังหวัดยโสธร
ดอกบัวแดง
ต้นกระบาก

10. จังหวัดร้อยเอ็ด
ดอกประดู่
ต้นกระบก,อินทนิลบก

11. จังหวัดเลย
ดอกรองเท้านารีเหลืองเลย
ต้นสนสามใบ

12. จังหวัดศรีสะเกษ
ดอกลำดวน
ต้นลำดวน

13.จังหวัดสกลนคร
ดอกอินทนิลน้ำ
ต้นอินทนิลน้ำ

14. จังหวัดสุรินทร์
ดอกกันเกรา
ต้นกันเกรา (ต้นไม้พระราชทานคือ มะค่าแต้)

15. จังหวัดหนองคาย
ดอกชิงชัน
ต้นชิงชัน

16. จังหวัดหนองบัวลำภู
ดอกบัวหลวง
ต้นตะเคียนพะยูง

17. จังหวัดอุดรธานี
ดอกทองกวาว
ต้นรัง

18.จังหวัดอุบลราชธานี
ดอกบัวหลวง
ต้นยางนา

19. จังหวัดอำนาจเจริญ
ดอกทองกวาว
ต้นตะเคียนหิน



ภาคกลาง 

1. จังหวัดกรุงเทพมหานคร
ไม่มีดอกไม้ประจำจังหวัด
ต้นไทรย้อยใบแหลม

2. จังหวัดกาญจนบุรี
ดอกกาญจนิกา
ต้นขานาง

3. จังหวัดฉะเชิงเทรา
ดอกนนทรี
ต้นนนทรีป่า

4. จังหวัดชัยนาท
ดอกชัยพฤกษ์
ต้นมะตูม

5. จังหวัดนครนายก
ดอกสุพรรณิการ์
ต้นสุพรรณิการ์

6. จังหวัดนครปฐม
ดอกจันทร์หอม
ต้นจันทน์หอม

7. จังหวัดนนทบุรี
ดอกนนทรี
ต้นนนทรีบ้าน

8. จังหวัดปทุมธานี
ดอกบัวหลวง
ต้นปาริชาติ (ทองหลางลาย)

9. จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ดอกเกด
ต้นเกด

10. จังหวัดปราจีนบุรี
ดอกปีบ
ต้นศรีมหาโพธิ์

11. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ดอกโสน
ต้นหมัน

12. จังหวัดเพชรบุรี
ไม่มีดอกไม้ประจำจังหวัด
ต้นหว้า

13. จังหวัดราชบุรี
ดอกกัลปพฤกษ์
ต้นโมกมัน

14. จังหวัดลพบุรี
ดอกพิกุล
ต้นพิกุล

15. จังหวัดสมุทรปราการ
ดอกดาวเรือง
ต้นโพทะเล

16. จังหวัดสมุทรสงคราม
ดอกจิกทะเล
ต้นจิกทะเล

17. จังหวัดสมุทรสาคร
ไม่มีดอกไม้ประจำจังหวัด
ต้นพญาสัตบรรณ

18. จังหวัดสระแก้ว
ดอกแก้ว
ต้นมะขามป้อม

19. จังหวัดสระบุรี
ดอกสุพรรณิการ์
ต้นตะแบกนา

20. จังหวัดสิงห์บุรี
ไม่มีดอกไม้ประจำจังหวัด
ต้นมะกล่ำต้น

21.จังหวัดสุพรรณบุรี
ดอกสุพรรณิการ์
ต้นมะเกลือ

22. จังหวัดอ่างทอง
ไม่มีดอกไม้ประจำจังหวัด
ต้นมะพลับ

23.จังหวัดอุทัยธานี
ดอกสุพรรณิการ์
ต้นสะเดา

ภาคตะวันออก
1. จังหวัดชลบุรี
ดอกประดู่
ต้นประดู่ป่า

2. จังหวัดระยอง
ดอกประดู่
ต้นประดู่ (ต้นไม้พระราชทานคือ สารภีทะเล)

3. จังหวัดตราด
ดอกกฤษณา
ต้นหูกวาง

4. จังหวัดจันทบุรี
ดอกเหลืองจันทบูร
ต้นจัน,สำรอง



ภาคใต้

1. จังหวัดกระบี่
ดอกทุ่งฟ้า
ต้นทุ้งฟ้า

2. จังหวัดชุมพร
ดอกพุทธรักษา
ต้นมะเดื่อชุมพร

3. จังหวัดตรัง
ดอกศรีตรัง
ต้นศรีตรัง

4. จังหวัดนครศรีธรรมราช
ดอกราชพฤกษ์
ต้นแซะ

5. จังหวัดนราธิวาส
ดอกบานบุรี
ต้นตะเคียนชันตาแมว

6. จังหวัดปัตตานี
ดอกชบา
ต้นตะเคียนทอง

7. จังหวัดพังงา
ดอกจำปูน
ต้นเทพธาโร

8. จังหวัดพัทลุง
ดอกพะยอม
ต้นพะยอม

9. จังหวัดภูเก็ต
ดอกเฟื่องฟ้า
ต้นประดู่บ้าน

10. จังหวัดยะลา
ดอกพิกุล
ต้นศรียะลา

11. จังหวัดระนอง
ดอกโกมาชุม
ต้นอินทนิล (ต้นไม้พระราชทานคือ ต้นอบเชย)

12. จังหวัดสงขลา
ดอกเฟื่องฟ้า
ต้นสะเดาเทียม

13. จังหวัดสตูล
ดอกกาหลง
ต้นหมากพลูตั๊กแตน (ต้นไม้พระราชทานคือ ต้นกระซิก)

14. จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ดอกบัวผุด
ต้นเคียม

วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

แกรมโต กล้วยไม้ยักษ์

ตลาดต้นไม้ รังสิตคลอง 15

มุขจีบผู้ชาย

เพลง วน พี่อัทธ์ (ชอบส่วนตัวอิอิ)

คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม



คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ประวัติความเป็นมา

       คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม เป็นหน่วยงานในกำกับของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยการยกร่างหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม(หลักสูตร 4 ปี) ในปีพุทธศักราช 2543-2544  ภายใต้ชื่อ "โครงการจัดตั้งคณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม" เปิดรับนิสิตรุ่นแรก ในระบบพิเศษและระบบพิเศษโดยวิธีเทียบเข้า ในเดือนมิถุนายน 2544

ปีการศึกษา 2544
    - มีนิสิตรุ่น 1 จำนวน 185 คน
    - มีอาจารย์และเจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุนการเรียนการสอน จำนวน 11 คน
    - มีนายธเนศ ศรีสถิตย์ เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้ง โครงการจัดตั้งคณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาการคณบดี ต่อมาโครงการจัดตั้งคณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม ได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยมหาสารคาม อนุมัติการจัดตั้ง "คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม" (Faculty of Tourism and Hotel Management) ตามมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 10/2547 เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2547 และอนุมัติให้ใช้ระเบียบมหาวิทยาลัยมหาสารคามว่าด้วยคณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม พุทธศักราช 2547 ณ วันที่ 10 พฤศจิกายน 2547 มีคำสั่งแต่งตั้งให้นายธเนศ ศรีสถิตย์ ดำรงตำแหน่งคณบดี คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม

ปีการศึกษา 2547
       คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม ได้ดำเนินการเปิดสอนตามหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต พุทธศักราช 2544 สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม(หลักสูตร 4 ปี)
    - มีนิสิตรวมทั้งสิ้นจำนวน 1,096 คน
    - อาจารย์ จำนวน 16 คน เจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุนการเรียนการสอนจำนวน 14 คน
    - มีบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาและเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร เป็นบัณฑิตรุ่นที่ 1 (ชบาช่อที่ 1) จำนวน 116 คน

ปีพุทธศักราช 2549
คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม ได้ดำเนินการยกร่างหลักสูตรใหม่ จำนวน 1 หลักสูตร ได้แก่
      หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยวและการโรงแรม (หลักสูตรนานาชาติ /หลักสูตรใหม่ พุทธศักราช 2549) และได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยมหาสารคาม อนุมัติหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยวและการโรงแรม (หลักสูตรนานาชาติ /หลักสูตรใหม่ พุทธศักราช 2549) เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2549   คณะฯ ได้ดำเนินการเปิดสอนนิสิตระดับปริญญาตรี (หลักสูตรนานาชาติ ) ในปีการศึกษา 2550 มีนิสิต รุ่นที่ 1 จำนวน 13 คน

      และใน ปีพุทธศักราช 2549 คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม ได้ดำเนินการยกร่างหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา 1 หลักสูตร ได้แก่หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต(ศศ.ม.) สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยวและการโรงแรม(หลักสูตรใหม่ พุทธศักราช 2550) พุทธศักราช 2550 (ศศ.ม.) ได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยมหาสารคาม อนุมัติหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยวและการโรงแรม(หลักสูตรปรับปรุงพุทธศักราช 2550) เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2549

ปีพุทธศักราช 2549-2550
       คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม ได้ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม พุทธศักราช 2544 และได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยมหาสารคาม อนุมัติหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม(หลักสูตรปรับปรุงพุทธศักราช 2550) เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2550

ปีพุทธศักราช 2550
คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม ได้ดำเนินการยกร่างหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 1 หลักสูตร ได้แก่
      หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(ปร.ด.) สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและการโรงแรม(หลักสูตรใหม่ พุทธศักราช 2550) โดยสภามหาวิทยาลัยมหาสารคามรับทราบและให้ความเห็นชอบหลักสูตรนี้แล้ว เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2550 และคณะการท่องเที่ยวและการโรงแรมได้ดำเนินการเปิดสอนระดับบัณฑิตศึกษาในปีการศึกษา 2550 พร้อมกันทั้ง 2 หลักสูตร โดยมีนิสิตระดับบัณฑิตศึกษารุ่นที่ 1 จำนวน 25 คน

ปีพุทธศักราช 2551
คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม จัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี 2 หลักสูตร ได้แก่
      - หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม (หลักสูตรปรับปรุง พุทธศักราช 2550)  
      - หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยวและการโรงแรม (หลักสูตรนานาชาติ /หลักสูตรใหม่ พุทธศักราช 2549)
      ระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 2 หลักสูตร ได้แก่
      - หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(ปร.ด.) สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและการโรงแรม(หลักสูตรใหม่พุทธศักราช 2550)
      - หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต(ศศ.ม.) สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยวและการโรงแรม(หลักสูตรใหม่ พุทธศักราช 2549)
       มีนิสิตรวมทั้งสิ้น จำนวน 2,215 คน จำแนกเป็น ระดับปริญญาตรีจำนวน 2,158 คน ระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 57 คน
       บุคลากร จำนวน 55 คน จำแนกเป็น บุคลากรฝ่ายวิชาการ จำนวน 36 คน บุคลากรฝ่ายสนับสนุนการเรียนการสอน จำนวน 19 คน


ทำเนียบคณบดีคณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม (2544-ปัจจุบัน)

          1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรเชษฏ์ เชษฐมาส            คณบดี                                 พ.ศ. 2552-ปัจจุบัน
          2. อาจารย์ยุวดี ตปนียากร                                รักษาการคณบดี                    พ.ศ. 2551-2552(2 เดือน)
          3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมชาติ มณีโชติ                คณบดี                                 พ.ศ. 2552(2 เดือน)
          4. อาจารย์ยุวดี ตปนียากร                                รักษาการคณบดี                    พ.ศ. 2552
          5. อาจารย์ธเนศ ศรีสถิตย์                                คณบดี                                 พ.ศ. 2547-2551
          6. อาจารย์ธเนศ ศรีสถิตย์                                รักษาการคณบดี                    พ.ศ. 2544-2547


ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ

ปรัชญา
แหล่งองค์ความรู้ เชิดชูวัฒนธรรมอีสาน วิชาชีพชำนาญ พัฒนาการสู่สากล

วิสัยทัศน์

เสริมสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ ให้สามารถผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถในวิชาชีพด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรมอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม สร้างสรรค์งานวิจัยและให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ควบคู่ไปกับการทำนุบำรุงและเชิดชูศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น พร้อมก้าวย่างสู่ความสากลอย่างมั่นใจ

พันธกิจ

พัฒนาและจัดการการศึกษาด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรมเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพตามกรอบมาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
วิจัยเพื่อแสวงหาองค์ความรู้ใหม่ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้ยั่งยืน
ให้บริการทางวิชาการแก่สังคมที่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของประเทศ
ทำนุบำรุง ฟื้นฟู เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีไทย
เป็นศุนย์กลางการเรียนรู้ทางด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรมอนุภาคลุ่มน้ำโขง
พัฒนาระบบการบริหารองค์กรตามหลักบริหารจัดการที่ดีสามารถขับเคลื่อนพันธกิจด้านต่างๆไปสู่ความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม


ไฟล์:Logomsu12.png

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตั้งอยู่ในจังหวัดมหาสารคาม เดิมเป็นวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ นับเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งที่ 22 ของประเทศไทย

ประวัติ
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีศูนย์กลางการบริหารงานตั้งอยู่ที่ ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม มีพื้นที่ประมาณ 1,300 ไร่ ที่ตั้งเดิม ซึ่งตั้งอยู่ที่ 269 ถนนนครสวรรค์ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม บนพื้นที่ 197 ไร่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีกำเนิดมาจากวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2511 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะขยายการศึกษาชั้นสูงไปสู่ภูมิภาค ต่อมาได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม เมื่อปีพุทธศักราช 2517 และได้แยกตัวเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศภายใต้ชื่อ "มหาวิทยาลัยมหาสารคาม" เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2537 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติ ของมหาวิทยาลัย ซึ่งได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 111 ตอนที่ 54 ก นับเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งที่ 22 ของ ประเทศไทย

อันดับมหาวิทยาลัย
การจัดอันดับโดย เว็บโอเมตริกซ์ (Webometrics) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บไซต์ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก โดยบ่งบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ของสถาบัน เพื่อใช้ร่วมกับตัวชี้วัดอื่น ๆ ในการประเมินผลงานวิจัยของสถาบัน ซึ่งทางเว็บโอเมตริกซ์ได้จัดอันดับปีละ 2 ครั้งในเดือนมกราคม และกรกฎาคม ล่าสุดเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2554 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อยู่ในอันดับที่ 1,101 ของโลก อันดับที่ 26 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันดับที่ 13 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย

สัญลักษณะประจำมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ไฟล์:Color.jpgไฟล์:Amaltas (Cassia fistula) in Hyderabad, AP W IMG 7137.jpg



สีเหลือง-เทา                         ราชพฤกษ์ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย
สีประจำมหาวิทยาลัย

ตราประจำมหาวิทยาลัยมหาสารคาม คือ ตราโรจนากร ซึ่งมีความหมายว่า สัญลักษณ์แห่งความเจริญรุ่งเรือง ซึ่งมีองค์ประกอบเป็นรูปใบเสมา
ภายในมีภาพขององค์พระธาตุนาดูน ด้านล่างเป็นสุริยรังสีที่แผ่ขึ้นจากผ้าลายขิตซึ่งอยู่เหนือคำขวัญภาษาบาลี
" พหูนํ ปณฺฑิโต ชีเว " หมายความว่า ผู้มีปัญญาพึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน
ใบเสมา หมายถึง ภูมิปัญญา
พระธาตุนาดูน หมายถึง คุณธรรมความดี
สุริยรังสี หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
ลายขิต หมายถึง ภูมิปัญญาและมรดกทางวัฒนธรรมแห่งอีสาน
ความหมายโดยรวม คือ ความเจริญรุ่งเรืองอันเป็นผลจากความรู้และคุณธรรม ผสมผสานกับภูมิปัญญาแห่งท้องถิ่นอีสาน
ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย ต้นราชพฤกษ์ หรือ ต้นคูณ
สีประจำมหาวิทยาลัย คือ สีเหลือง - เทา
สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง ความดีงาม ความอุดมสมบูรณ์
สีเทา หมายถึง ความคิด หรือ ปัญญา
สีเหลือง - เทา จึงหมายถึง การมีปัญญาและความคิดที่ดีงาม อันนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง
วาทกรรมอัตลักษณ์ประชาคม มมส คือ ลูกพระธาตุนาดูน ดอกคูนผลิช่อ มอน้ำชี ศรีโรจนากร